พิกัดรหัสสถิติ
พิกัดรหัสสถิติ หรือ Commodity Code ที่ใช้ในงานศุลกากร หมายถึง ตัวเลข 11 ตัวที่ระบุสินค้าแต่ละรายการ เพื่อใช้ในระบบสากลและสื่อความหมายของพิกัด ประกอบไปด้วยตอน ประเภท ประเภทย่อย และรหัสสถิติ ซึ่งสามารถแบ่งตัวเลขออกเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้
1. เลข 4 ตัวแรก
มาจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร จะเป็นประเภท (Heading No.) แยกเป็น
2 ตัวแรกเป็นเลขลำดับของ “ตอน”
2 ตัวหลังเป็นเลขลำดับของ “ประเภท” ที่อยู่ในตอนนั้น
ตัวอย่างเช่น ตอนที่ 29 กำหนดให้เป็นเคมีภัณฑ์อินทรีย์ และประเภทที่ 29.07 คือ ฟีนอลและฟีนอลแอลกอฮอลล์
2. เลข 4 ตัวต่อมา
เป็นลำดับของ “ประเภทย่อย” (Subheading No.) ประกอบไปด้วย
เลข 2 ตัวแรก เป็นเลข 2 ตัวที่เหลือจากเลขชุด 6 ตัวของพิกัดศุลกากร
เลข 2 ตัวหลัง เป็นประเภทย่อยระบบพิกัด
เลข 2 ตัวหลังนี้ เช่น ประเทศไทยใช้ระบบพิกัดศุลกากรอาเซียน (CEPT Code / the AHTN Protocol) ก็จะเป็นเลขขอพิกัดนี้ เมื่อรวมกับข้อ 1 จะเป็น 8 ตัว (ส่วนใหญ่เป็นเลข 8 ตัว) ตัวอย่างเช่น 2907.10.00 คือ ฟีนอล (ไฮดรอกซิเบนซิน)
3. เลข 3 ตัวสุดท้าย
คือ เลขรหัสสถิติ (Statistics code) ซึ่งเป็นรหัสสินค้า (Code for goods) และรหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) โดยตัวเลข 3 หลักสุดท้าย จะเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ทำให้รวมแล้วมี 11 ตัว (มาจากข้อ 1 และข้อ 2 แล้วต่อท้ายอีก 3 ตัวนั่นเอง)
แต่ถ้าประเภทย่อยมีเพียง 7 ตัว ก็ให้ใส่ตำแหน่งที่ 8 เป็น 0 และเราจะได้ตามตัวอย่าง เช่น 2907.10.00 101 / KGM คือ ฟีนอล (ไฮดรอกซิเบนซิน)
ที่ต่อท้ายมากับเลขชุด 11 หลักของพิกัดรหัสสถิติ คือ รหัสหน่วยสินค้า (Unit of goods) ส่วนใหญ่จะเป็น KGM (กิโลกรัม) ตัวอย่างอื่นๆ ได้แก่ C62 (ชิ้นหรือหน่วย), LTR (ลิตร), MTR (เมตร), MTK (เมตริกตัน) เป็นต้น
วิธีการตรวจสอบ
1. เข้าเว็บไซต์กรมศุลกากร www.customs.go.th
2. เลือกรายการ “ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร” ทางด้านขวาของเว็บไซต์
3. เลือกรายการ “ค้นหาอัตราศุลกากร” (รูปภาพสีเหลือง)
4. เนื่องจากการกรอกข้อมูลใบขนสินค้า ต้องระบุรหัสสถิติ รวมไปถึงการตรวจสอบใบอนุญาตนำเข้าส่งออกบางครั้งต้องดูถึงรหัสสถิติด้วย ซึ่งผู้ประกอบการสามารถค้นหารหัสสถิติได้จากหัวข้อ “รหัสสถิติ” ด้านซ้ายมือของหน้าจอ
5. ระบุพิกัดสินค้าที่ต้องการค้นหาในช่อง “รหัสพิกัด 2,4,6,8 หลัก :”
6. ตัวอย่างเช่น พิกัด 85171200 จะมีรหัสสถิติ “000” “800” “899” “999” ซึ่งเลขหลักรหัสสถิติจะมีความหมายแตกต่างกัน ตามตารางด้านล่าง
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3hTLlCH, https://bit.ly/2P4Zoco