ทำไมตู้คอนเทนเนอร์ถึงเวียนกันใช้ทั่วโลก ?
24 April 2020
ตามความจริงแล้วระบบตู้คอนเทนเนอร์มีการใช้งานมาร่วมร้อยปีแล้ว โดยตู้คอนเทนเนอร์ถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรขึ้นในปี 1956 โดยชายชาวอเมริกัน Malcom McLean (มัลคอม แมคเลน) หรือ ‘บิดาแห่งตู้คอนเทนเนอร์’ เป็นผู้ประกอบการรถบรรทุกที่เป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ และถูกใช้พร้อมกันจริงจังทั่วโลกเมื่อปี 1970 เป็นไปตามมาตรฐาน ISO (International Standardization Organization) ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีระบบตู้คอนเทนเนอร์ในการขนส่งสินค้า จะใช้แรงงานยกขนส่งเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีการใช้เครนหรือรถ folklift การขนส่งจึงเป็นแบบเทกอง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช้าและไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้ผุดไอเดียที่จะยกสินค้าจากรถบรรทุกทั้งคันขึ้นเรือโดยตรงโดยไม่ต้องขนของออกก่อน ซึ่งวิธีการขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ของ Malcom นั้นมีความรวดเร็วกว่าแบบเดิมมากและมีการจัดระเบียบที่ดี ทำให้ลดต้นทุนการขนส่งไปได้มากกว่า 90% จนได้รับขนานนามว่าเป็น ‘บุคคลแห่งศตวรรษ’ อีกทั้งช่วยให้การขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและมีการพัฒนาให้เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
ปัจจุบันตู้คอนเทนเนอร์โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเดียวกัน มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีประตูสำหรับเปิด-ปิด 2 บานและมีที่ล็อกประตูให้ปิดมิดชิด ภายในตู้สามารถบรรจุสินค้าวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้นและมีการยึดตู้แต่ละตู้ติดกัน นอกจากนี้ยังมีการบอกรายละเอียดต่างๆ เช่น การระบุหมายเลขตู้ (Container Number) หรือน้ำหนักของสินค้าบรรจุสูงสุด นอกจากนั้นยังมีขนาดที่หลากหลายและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อให้เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าแต่ละประเภทและปริมาณของสินค้าที่จัดส่งซึ่งข้อดีของการขนส่งแบบตู้คอนเทนเนอร์มีดังนี้
- มีรูปทรงที่เหมือนกันจึงสามารถจัดพื้นที่ได้ง่ายมากขึ้น สามารถซ้อนกันได้ อีกทั้งยังทนต่อแดดและฝน
- สามารถเชื่อมต่อทุกการขนส่งได้อย่างง่ายและลงตัว จากรถไฟยกขึ้นเรือและจากเรือยกมาวางบนรถต่อ
- สามารติดตามสถานะของตู้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เพราะทุกตู้จะมีเบอร์ตู้และเลข สำหรับไว้ใช้ติดตามสถานะในการขนส่ง
ในประเทศไทย ตู้คอนเทนเนอร์จะถูกเก็บรวมกันไว้ที่ลานตู้สินค้า (Depot) ที่แต่ละสายเรือได้ทำสัญญาไว้ เราจะรับตู้คอนเทนเนอร์เปล่าที่ Depot สำหรับงานขาออก และรวมไปถึงส่งคืนตู้คอนเทนเนอร์เปล่าสำหรับงานขาเข้า หลังจากที่ตู้คอนเทนเนอร์ถูกส่งกลับไปยัง Depot ตู้จะถูกทำความสะอาด และ ซ่อมแซม หากตู้มีร่องรอยความเสียหายจะถูกซ่อมแซมเพื่อให้พร้อมใช้งานในการปกป้องสินค้าให้ปลอดภัยระหว่างขนส่ง ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นผู้ที่ต้องรับผิดชอบจะพิจารณาจากสถานที่ต้นทางหรือปลายทางในการเดินทางของตู้ว่าใครเป็นผู้ทำตู้ชำรุดเสียหาย โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวแตกต่างกันไปซึ่งจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสายเรือ โดยเราสามารป้องกันค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นตรงส่วนนี้ได้จาก https://bit.ly/2XVXYqk
ปัญหาที่เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ที่เกิดขึ้นบ่อย
- ตู้คอนเทนเนอร์ไม่สะอาด
เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในการขนส่งสินค้าของประเทศไทย เนื่องจากสภาพตู้ที่ได้รับจริงในวันรับตู้ อาจสกปรกมีกลิ่นเหม็นพื้นมีรอยขีดข่วนหรือมีรอยรั่ว ถ้าหากสภาพตู้คอนเทนเนอร์ไม่ได้เป็นไปตามที่ร้องขอ ลูกค้าอาจจะไม่สามารถโหลดสินค้าได้ ซึ่งหากเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้น เราต้องนำตู้สินค้าไปเปลี่ยนคืนที่ลาน เพื่อให้ได้ตู้ในสภาพที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งอาจจะเกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามมาได้
- ความล่าช้าในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์
เกิดเนื่องจากได้รับตู้ที่มีสภาพชำรุด มีกลิ่น ตามที่ไม่ได้ตกลงกันไว้ สามารถแจ้งขอไม่รับ หรือเปลี่ยนตู้ใหม่ได้ ทั้งนี้ผู้ขับรถรับตู้คอนเทนเนอร์ ต้องทำการตรวจสอบตู้ก่อนทุกครั้ง เพราะสามารถเลือกตู้ได้เพียงรอบละ1 ครั้งเท่านั้น หากมีการร้องขอเปลี่ยนตู้ 2-3 ครั้งอาจส่งผลให้เสียเวลาและทำให้ตู้ถึงโรงงานไม่ทันเวลาตามที่กำหนด
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3asZVNG
https://bit.ly/2VvpERe
https://bit.ly/2XXoFL7