ในการคำนวณค่าระวาง (Freight) ของการขนส่งทางอากาศนั้น สามารถคำนวนณโดยคิดได้จาก 2 ลักษณะ ดังต่อไปนี้ครับ
07 July 2016
- การคำนวณจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ หรือน้ำหนักจริงของสินค้านั้นนั้น (Gross Weight) ซึ่งโดยหลักสากลจะใช้หน่วยเป็นกิโลกรัม
- การคำนวณจากน้ำหนักปริมาตร (Volume Weight) คือการคิดจากขนาดของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้า (Dimension) ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำ ความกว้าง x ความยาว x ความสูง ของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้นนั้น
***การคำนวณค่าระวางของสินค้านั้นต้องนำผลการคำนวณของน้ำหนักทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน โดยต้องนำน้ำหนักที่ได้จากการเปรียบเทียบสูงสุดมาใช้ โดยนำมาคูณกับอัตราค่าระวางขนส่งทางอากาศ
***
สูตรการคำนวณค่าระวางข่นส่งทางอากาศ
อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า
สูตรการคำนวณน้ำหนักของกล่องหรือหีบห่อบรรจุสินค้า ของค่าระวางข่นส่งทางอากาศ
น้ำหนักปริมาตร = จำนวนสินค้า x ขนาดของสินค้า / 6000 ลูกบาศก์ ซม.
***6,000 คือ ค่ากำหนดเป็นมาตรฐานในการคำนวณสำหรับการขนส่งทางอากาศ
**ตัวอย่าง
- มีสินค้าทั้งหมดอยู่ 4 กล่อง ขนาด 120 x 60 x 90 ซม. โดยน้ำหนักรวมของทั้ง 4 กล่องชั่งได้อยู่ที่ (GROSS WEIGHT) 600 กก.
- ค่าอัตราระวางของการข่นส่งสินค้าจากประเทศไทย (กรุงเทพ) ไปสิงโปรค์ กิโลกรัมละ 50 บาท
วิธีการคำนวณ
= 6 x (120 x 60 x 90 cms) / 6000
= 648 กก. (Volume Weight)
เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (600 กก.) ซึ่งต่ำกว่าดังนั้นให้นำน้ำหนักปริมาตร (648 กก.) มาคูณกับอัตราค่าระวาง
**ฉะนั้นจะต้องชำระค่าระวาง 648 X 50 = 32,400 บาท