AFR (Advance Filing Rules on Maritime Container Cargo Information) หรือเรียกอีกอย่างว่า Japan 24 Hour Rule (JP24) คือ กฎระเบียบการแจ้งข้อมูลล่วงหน้า ของตู้สินค้าที่ทำการขนส่งทางทะเล ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่ใช้เพื่อเพิ่มการรักษาความปลอดภัยจากการ ก่อการร้ายในระบบโซ่อุปทานโลก เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2557 โดยมีข้อปฏิบัติ ดังนี้
1. สินค้าที่ต้องแจ้งข้อมูล คือ สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกมาบนเรือสินค้าจากต่างประเทศใดๆ ก็ตามที่ประสงค์จะเข้ามายังประเทศญี่ปุ่น ยกเว้น สินค้าดังต่อไปนี้
1.1 ตู้คอนเทนเนอร์เปล่า
1.2 สินค้าที่บรรทุกบนแผ่นรองคอนเทนเนอร์
1.3 สินค้าที่มิได้ขนถ่ายขึ้นมาที่ประเทศญี่ปุ่น
2. ผู้มีหน้าที่แจ้งข้อมูล คือ บริษัทเดินเรือจะต้องแจ้งข้อมูล “MBL on Cargo Information” และ ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่เจ้าของเรือจะต้องแจ้งข้อมูล “HBL on Cargo Information”
3. กำหนดเวลาในการแจ้งข้อมูล คือ ต้องแจ้งข้อมูลสินค้าล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการเดินเรือออกจากท่าเรือที่บรรทุกสินค้า ยกเว้นสินค้าที่มีท่าเรือต้นทางและปลายทางอยู่ต่างประเทศ แต่ได้ขนถ่ายสินค้าขึ้นมาพักที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นท่าเรือแรกที่เดินทางมาถึง โดยสินค้าดังกล่าวจะได้รับการผ่อนปรนให้แจ้งข้อมูลเมื่อออกจากท่าเรือที่บรรทุกสินค้า
4. วิธีการแจ้งข้อมูล คือ ต้องแจ้งข้อมูลสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า Nippon Automated Cargo and Port Consolidated System (NACCS) เท่านั้น โดยเชื่อมต่อผ่านทางเกตเวย์ด้วยระบบของผู้แจ้งข้อมูลหรือผ่านทางผู้ให้บริการ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ให้บริการที่ได้รับหมายเลข Reporter ID ในเบื้องต้น กรณีที่กรมศุลกากรญี่ปุ่นพิจารณาเห็นว่ามีความยุ่งยากในการแจ้งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบขัดข้อง จึงจะสามารถส่งข้อมูลสินค้ามาเป็นเอกสารได้ ซึ่งมีรายละเอียดการแจ้งข้อมูล ดังนี้
4.1 การแจ้งข้อมูลโดยบริษัทเดินเรือ
4.1.1 บริษัทเดินเรือจะต้องลงทะเบียนข้อมูล MBL ในระบบ Advance Cargo Information Registration (AMR) ตามกำหนดเวลาการแจ้งข้อมูล ทั้งนี้ ข้อความ
Electronic Data Interchange For Administration, Commerce and Transport (EDIFACT) จะสามารถใช้แจ้งข้อมูลในขั้นตอนนี้ได้เฉพาะผู้ใช้ NACCS
4.1.2 ระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนและแจ้งผลให้ทราบว่าสำเร็จหรือมีข้อผิดพลาด ซึ่งถ้าข้อมูลผิดพลาดระบบจะปฏิเสธการแจ้งข้อมูลดังกล่าวทันที
4.1.3 ผู้แจ้งข้อมูลสามารถแก้ไขข้อมูลได้ใน Update Registered Advance Cargo Information (CMR) ก่อนการแจ้งวันและเวลาเดินเรือยกเว้น กรณีที่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากศุลกากรแต่ทั้งนี้ ข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือ B/L number, Vessel code, Voyage Number, Carrier code, Port of loading code และ Port of loading suffix
4.2 การแจ้งข้อมูลโดยผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่เจ้าของเรือ
4.2.1 ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่เจ้าของเรือจะต้องลงทะเบียนข้อมูล HBL Cargo Information ในระบบ Advance Cargo Information Registration HBL (AHR) ตามกำหนดเวลาการแจ้งข้อมูล ทั้งนี้ ข้อความ EDIFACT จะสามารถใช้แจ้งข้อมูลในขั้นตอนนี้ได้เฉพาะผู้ใช้ NACCS
4.2.2 ระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้ลงทะเบียนและแจ้งผลให้ทราบว่าสำเร็จหรือมีข้อผิดพลาด ซึ่งถ้าข้อมูลผิดพลาดระบบจะปฏิเสธการแจ้งข้อมูลดังกล่าวทันที
4.2.3 ผู้แจ้งข้อมูลสามารถแก้ไขข้อมูลได้ใน Update Registered Advance Cargo Information HBL (CHR) ก่อนการแจ้งวันและเวลาเดินเรือ ยกเว้น กรณีที่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากกรมศุลกากร แต่ทั้งนี้ ข้อมูลที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือ HBL number, Master B/L number, Vessel code, Voyage Number, Carrier code, Port of loading code และ Port of loading suffix
4.3การแจ้งเวลาเดินเรือออกจากท่าเรือที่บรรทุกสินค้า เมื่อเรือบรรทุกสินค้าออกจากท่าเรือแล้วบริษัทเดินเรือจะมีหน้าที่แจ้งวันและเวลาเดินเรือผ่านระบบ NACCS พร้อมกับบัญชีรายการสินค้าที่กัปตันเรือเป็นผู้แจ้งและสามารถแก้ไขเวลาเดินเรือได้ในขณะนั้น
4.4 ความขัดแย้งทางข้อมูล คือ เมื่อได้รับการแจ้งวันและเวลาเดินเรือและการแจ้งบัญชีรายการสินค้า ระบบจะทำการตรวจสอบความขัดแย้งทางข้อมูลกับข้อมูลของสินค้าที่แจ้งล่วงหน้าและจะแจ้งหากพบว่าข้อมูล
ไม่ตรงกัน
4.5 การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากการแจ้งข้อมูลสินค้าล่วงหน้าในบัญชีรายการสินค้า (DMF) สามารถจัดทำบัญชีรายการสินค้าได้โดยอ้างอิงจากAFRเพื่อลดภาระงาน
5. ข้อยกเว้นจากการแจ้งข้อมูล คือการแจ้งข้อมูลสินค้าต่อกรมศุลกากร จะได้รับการยกเว้นต่อเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น พายุ ฝนตกหนัก น้าท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ หรือภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สงคราม สถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธ ฯลฯ
6. การแจ้งล่วงหน้า คือ กรมศุลกากรจะทำการประเมินความเสี่ยงของสินค้าจากข้อมูลที่ได้รับแจ้ง และจะแจ้ง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 24 ชั่วโมง หากพบว่าสินค้าที่จะขนส่งเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง หรืออาจแจ้งหลังจาก 24 ชั่วโมง เมื่อได้รับข้อมูลใหม่จากหน่วยงานความมั่นคง ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการแก้ไขตามที่แจ้ง กรมศุลกากรจะทำการยกเลิกทันที โดยแบ่งรหัสการประเมินความเสี่ยงของสินค้า ดังนี้
6.1 รหัส DNL (Do not load) เป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง และไม่อนุญาตให้ขนส่งมายังญี่ปุ่น
6.2 รหัส HLD (Hold) เป็นสินค้าที่ต้องการข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม เพื่อทำการประเมินความเสี่ยง
6.3 รหัส DNU (Do not unload)
6.3.1 ในกรณีที่กรมศุลกากรญี่ปุ่นตรวจพบว่าเป็นสินค้าที่เป็นภัยคุกคามต่อประเทศ หลังจากที่เรือบรรทุกสินค้าออกจากท่าเรือแล้วนั้น ทางกรมศุลกากรจะแจ้งล่วงหน้าผ่านรหัส DNU ไปยังระบบ NACCS เพื่อระงับการขนถ่ายสินค้ามายังท่าเรือญี่ปุ่น
6.3.2 ในกรณีที่สินค้าเป็นรหัส HLD ถ้าออกจากท่าเรือแล้วยังไม่แจ้งข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมข้อมูลทางกรมศุลกากรสามารถแจ้งรหัส DNU เพื่อระงับการขนถ่ายสินค้าขึ้นมาที่ประเทศญี่ปุ่นจนกว่าจะมีการแจ้งข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม
7. การยื่นขออนุญาตขนถ่ายสินค้าในกรณีพ้นกำหนดเวลาในการแจ้งข้อมูล กรมศุลกากรจะแจ้งรหัส SPD ไปยังระบบ NACCS การขนถ่ายสินค้าจะดำเนินได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรญี่ปุ่น ดังนี้
7.1 ในกรณีที่ไม่ได้แจ้งข้อมูลสินค้าหรือในกรณีที่แจ้งข้อมูลสินค้าพ้นกำหนดเวลา จะต้องทำการแจ้งข้อมูลและยื่นขออนุญาตที่กรมศุลกากรที่มีอำนาจ ณ ท่าเรือที่จะดำเนินการขนถ่ายสินค้า
8. บทลงโทษในการไม่แจ้งข้อมูลAFR บริษัทเดินเรือหรือผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่ไม่ใช่เจ้าของเรือละเลยไม่แจ้งข้อมูลสินค้า หรือแจ้งข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือขนถ่ายสินค้าโดยมิได้รับอนุญาต จะต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 เยน
ที่มาของแหล่งข้อมูล: Customs and Tariff Bureau, Ministry of Finance Japan