เลขบนตู้คอนเทรนเนอร์ที่เราเห็นนั้น บ่งบอกถึงน้ำหนักและหมายเลขตู้คอนเทรนเนอร์ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก รวมถึงการแยกขนาดของตู้คอนเทรนเนอร์แต่ละชนิด
สำหรับหน้าที่ของหมายเลขบนตู้คอนเทรนเนอร์ มีไว้แยกขนาดตู้ที่หน้าตาเหมือนๆกันว่าตู้ไหนใครเป็นเจ้าของสินค้า เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการยกผิดตู้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ ตามภาพประกอบด้านล่าง
1 . NET คือ น้ำหนักของสินค้าที่สามารถบรรจุใส่ตู้คอนเทรนเนอร์นั้นได้ ซึ่งก็คือน้ำหนักสูงสุดที่ตู้รับได้
หรือตู้คอนเทรนเนอร์แต่ละสายเรืออาจจะแสดงข้อความนั้นๆดังนี้ N.W., NET WEIGHT, MAX CARGO WGT และ PAYLOAD
2. MAX. GROSS คือ น้ำหนักของตู้คอนเทรนเนอร์เปล่าที่รวมกับน้ำหนักของสินค้าที่ตู้คอนเทรนเนอร์สามารถหนักได้สูงสุดได้
หรือตู้คอนเทรนเนอร์แต่ละสายเรืออาจจะแสดงข้อความนั้นๆดังนี้ MAX. GROSS WGT., MX GR, MAX.GR. และ MAX.WT.
3.TARE คือ น้ำหนักของตู้เปล่า ที่ยังไม่ได้บรรจุสินค้าลงไป
4.CUBE หรือ CU CAP. คือ ปริมาตรสุทธิของตู้คอนเทรนเนอร์
-รหัสเจ้าของตู้ คือ อักษรแทนชื่อบริษัทเจ้าของตู้จำนวน 3 ตัวอักษร เช่น CMAU, EGSU และ TCLU
-รหัสตรวจสอบความถูกต้อง คือ รหัสที่ตรวจสอบว่าเจ้าของตู้ ประเภทตู้และการจดทะเบียนตู้คอนเทนเนอร์นั้นถูกต้องหรือไม่ สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ตามลิ้งค์นี้ (สำหรับวิธีตรวจสอบ โปรดติดตามในบทความหน้า)
https://www.bic-code.org/check-digit-calculator/
-ชนิดและขนาดของตู้ มี 4 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้
1) Dry Cargoes เป็นตู้ที่ใส่สินค้าทั่วไปที่มีการบรรจุหีบห่อหรือภาชนะต้องเป็นสินค้าที่ไม่ต้องการรักษาอุณหภูมิ โดยสินค้าที่เข้าตู้แล้วจะต้องมีการจัดทำที่กั้นไม่ให้มีสินค้าเลื่อนหรือขยับ หากใช้เป็นเชือกไนลอนรัดหน้าตู้ ก็จะเรียกว่า Lashing
2) Refrigerator Cargoes เป็นตู้สินค้าที่มีเครื่องปรับอากาศ มีการปรับอุณหภูมิในตู้ ซึ่งทำตามมาตรฐานต้องสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน้อย –18 องศาเซลเซียสโดยเครื่องทำความเย็นนี้อาจติดอยู่กับตู้หรือมีปลั๊กใช้กระแสไฟฟ้าเสียบจากนอกตู้ ซึ่งจะต้องมีที่วัดอุณหภูมิแสดงให้เห็นสถานะของอุณหภูมิของตู้สินค้า
3) Open Top เป็นตู้ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็น 40 ฟุต โดยออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา สำหรับใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เครื่องจักร ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตู้ได้
4) Flat-rack เป็นพื้นราบมีขนาดกว้างและยาว ตาม Size ของ Container มาตรฐาน เป็นตู้คล้าย Container ที่มีแต่พื้น Platform สำหรับใส่สินค้าลักษณะพิเศษ เช่น เครื่องจักรประติมากรรม,รถแทรกเตอร์ เพื่อให้สามารถจัดเรียงกองในรูปแบบที่เป็น Slot ซึ่งเป็นลักษณะเรือที่เป็น Container
(สามารถเช็คขนาดของแต่ละประเภทตู้ตามบทความก่อนหน้านี้ได้ที่ลิ้งค์ http://www.lissom-logistics.co.th/articles-details.php?id=10)