INSURANCE
วันนี้เรามาต่อจากคอลัมน์ที่แล้วกันนะคะ เงื่อนไขและขอบเขตความคุ้มครองในการประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง ส่วนใหญ่จะยึดตามเงื่อนไขความคุ้มครองของประเทศอังกฤษ ซึ่งจะใช้คำว่า “Institute” ซึ่งเป็นที่ยอมรับในการทำประกันภัย
การเลือกซื้อความคุ้มครอง มี 3 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็ให้ความคุ้มครองแตกต่างกันไป ได้แก่
1. F.P.A. ( Free form Particular Average) แปลว่า การประกันตามเงื่อนไขนี้ให้ความคุ้มครองน้อยที่สุด กล่าวคือ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะเมื่อสินค้านั้นเสียหายโดยสิ้นเชิง (Total Loss) เท่านั้น
ถ้าสินค้านั้นได้รับความเสียหายแต่เพียงบางส่วน (Partial Loss) ทางผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับการชดเชย
2. W.A. (With Average) การประกันภัยตามเงื่อนไขนี้ ให้ความคุ้มครองครองความเสียหายโดยสิ้นเชิง และความเสียหายบางส่วนด้วย แต่ความเสียหายบางส่วนนี้ จะต้องไม่ต่ำกว่า 3 % ของข้อมูลค่าทรัพย์สินที่เอาประกัน
3. All Risks เป็นเงื่อนไขความคุ้มครองที่กว้างที่สุด คือ ให้ความคุ้มครองทั้งความเสียหายบางส่วน และสิ้นเชิงโดยไม่จำกัดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสีย
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.wsk.ac.th/insurance/Marine_insurance.html
เงื่อนไขความคุ้มครองที่นิยมกันมีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. Institute Cargo Clauses (A) หรือ ICC(A) เป็นความคุ้มครองที่ครอบคลุมความเสียหายทุกชนิด( All Risks )ของการประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ที่คุ้มครอง ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียจึงจะมีสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
แต่ทั้งนี้ต้องไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ใช่ข้อยกเว้น (Exclusions)
2.Institute Cargo Clauses (B) หรือ ICC(B) เป็นความคุ้มครองการเสี่ยงภัยทุกชนิดที่มีสาเหตุจากภายนอกพร้อมกับกำหนดยกเว้นภัยบางประเภท ( W.A.) I.C.C (B) ยังได้แยกความคุ้มครองออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. คุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็น ตัวการที่ทำให้เกิดความเสียหายภัยที่คุ้มครอง ได้แก่
1.1 อัคคีภัย หรือ การระเบิด
1.2 เรือ หรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ
1.3 การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก
1.4 การชนหรือการโดนกันของเรือ ยวดยาน หรือ ยานพาหนะ กับวัตถุภายนอกใดๆ ก็ตามนอกเหนือจากกับน้ำ
1.5 การขนถ่ายสินค้าลงที่ท่าใช้หลบภัย
1.6 แผ่นดินไหว การระเบิดของภูเขาไฟ หรือฟ้าผ่า
2. ความสูญเสียหรือเสียหาย จะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้นี้
2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนร่วม
2.2 การถูกทิ้งทะเล หรือ การถูกน้ำซัดตกจากเรือไป
2.3 การที่น้ำทะเล น้ำทะเลสาบ หรือน้ำในแม่น้ำเข้ามาในระวางเรือ หรือยวดยาน หรือเข้ามาในตู้ ลำเลียง, ตู้ยก หรือสถานที่เก็บวางสินค้า
3. ความสูญเสียโดยสิ้นเชิงของหีบห่อใด ซึ่งตกจากเรือหรือตกลงมาในขณะที่ขนขึ้น-ลงจากเรือ หรือยวดยาน
3.Institute Cargo Clauses (C) หรือ ICC(C) เป็นความคุ้มครองแคบกว่า ICC(B) โดยจะระบุข้อยกเว้นความคุ้มครองชัดเจนเพิ่มมากขึ้นจาก ICC(B) โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ความสูญเสียหรือเสียหาย ซึ่งมีผลสืบเนื่องจากภัยที่ระบุไว้ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสาเหตุที่เป็นตัวการให้เกิดความเสียหาย ได้แก่
1.1 อัคคีภัย หรือ การระเบิด
1.2 เรือ หรือยวดยานประสบเหตุเกยตื้น เกยพื้น จม หรือพลิกคว่ำ
1.3 การคว่ำหรือตกรางของยานพาหนะทางบก
1.4 การชนหรือการโดนกันของเรือ ยวดยาน หรือ ยานพาหนะ กับวัตถุภายนอกใดๆ ก็ตามนอกเหนือจากกับน้ำ
2. ความสูญเสียหรือเสียหาย จะต้องมีสาเหตุโดยตรงจากภัยที่ระบุไว้ ได้นี้
2.1 การถูกสละไปอันถือได้ว่าเป็นการสูญเสียเพื่อส่วนร่วม
2.2 การถูกทิ้งทะเล
สรุปความคุ้มครองการประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.mbtsbroking.com