28 September 2018
ในการคำนวณ ภาษีอากรนำเข้า จำง่ายๆด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ 3 ตัว คือ C I F ไม่ใช่เทอมในการนำเข้าส่งออกนะคะ
C (COST) : ต้นทุนของราคาสินค้า ดูได้จากราคาสินค้าใน COMMERCIAL INVOICE
I (INSURANCE) : ประกันภัยของสินค้า มี 2 แบบค่ะ
1.ไม่ทำประกันภัยสินค้ากับบริษัทประกัน แต่เวลาออกของ แต่จำเป็นต้องมีค่าประกันภัย โดยจะคิด 1 %ของราคาสินค้าทั้งหมด
เมื่อเกิดความเสียหายจะไม่สามารถทำการเคลมได้
2.ทำประกันภัยสินค้ากับบริษัทประกันภัย เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายสามารถสามารถเคลมกับบริษัทประกันได้
**ขอแนะนำว่าควรทำประกันภัยสินค้ากับบริษัทประกันภัยค่ะ เนื่องจากค่าประกันภัยที่เสียไปอาจถูกกว่าหรือเท่ากับแบบแรก แต่กรรมธรม์ที่เราทำนั้น สามารถคุ้มครองได้จริง**
F (FREIGHT) : ค่าขนส่ง
เวลาคิดภาษีอากรนำเข้า จะมีวิธีการคิดดังนี้ค่ะ
การคิดอากรขาเข้า : (C+I+F)*อัตราอากรขาเข้า(%)
การคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม : (C+I+F+อากรขาเข้า)*VAT 7%
ภาษีอากรนำเข้า : อากรขาเข้า+ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เราลองมาคิดภาษีอากรนำเข้าของสินค้าชนิดหนึ่งกันนะคะ สมมติว่าสินค้าที่เราจะนำเข้ามามีรายละเอียดสินค้าดังต่อไปนี้ (สมมติให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็น EUR 1=39 บาท)
มูลค่าของสินค้า (C) : EUR 2,000
-> 78,000 บาท
ประกันสินค้า (I) : EUR 20 (คิดจาก 1% ของราคาสินค้าทั้งหมด)
-> 780 บาท
ค่าขนส่ง (F) : EUR 150
-> 5,850 บาท
มูลค่า C+I+F : 78,000 +780+5,850 = 84,630 บาท
อัตราอากรขาเข้าที่ตรวจสอบจากทางกรมศุลกากรของสินค้าชนิดนี้ คิดเป็น 5% (
ตรวจสอบอัตราอากรได้ที่นี่ค่ะ)
อากรขาเข้าของสินค้า : (84,630 บาท)*5% = 4,231.5 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : (84,630+4,231.5 บาท) = 6,220.31 บาท
ดังนี้ ภาษีอากรนำเข้า : 4,231.5 บาท +6,220.31 บาท = 10,451.81 บาท
ค่าภาษีอากรเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อนำสินค้าเข้ามาเพื่อใช้ภายในประเทศไทยค่ะ นอกจากนี้สินค้าบางชนิดอาจจำเป็นต้องเสียภาษีสรรพสามิต หรือภาษีเพื่อมหาดไทยด้วย
ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าที่กรมดังกล่าวระบุไว้ ดังนั้นผู้นำเข้าควรตวจสอบรายละเอียดสินค้าที่ต้องการนำเข้าก่อนทำการนำเข้าจริง เพื่อที่จะสามารถคำนวณต้นทุนของสินค้าได้แม่นยำขึ้น