ในการนำเข้าและส่งออกสินค้านั้นตามกฎหมายแล้วจะต้องมีการทำตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับของประเทศนั้นๆ และจะต้องทำตามระเบียบของพิธีการศุลกากร แต่สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำให้มีความเข้าใจตรงกันทั่วโลกก็คือ ประเภทและชนิดของสินค้า เนื่องจากในแต่ละประเทศมีสินค้าหลากหลายชนิด หรือเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน แต่มีชื่อเรียกไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงมีการกำหนดแบ่งตัวเลขออกเป็นหมวด ตามประเภทของสินค้าเพื่อกำหนดเกณฑ์ที่เรียกว่า HS CODE หรือพิกัด เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในระหว่างการขนส่งสินค้า วันนี้ทาง Lissom จึงมาให้ความรู้เรื่องนี้กันค่ะ
HS CODE ( Harmonized System ) หรือ พิกัดศุลกากร เป็นระบบการจำแนกประเภท และระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 8 หลัก ซึ่งประกาศใช้โดยคณะมนตรีพิกัดฯ ขององค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) และระบบนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) จึงได้นำมาใช้เป็นสากลทางการค้าระหว่างประเทศ จำแนกประเภทสิ่งของต่างๆ ออกเป็น 21 หมวด, 97 ตอน และกว่า 5,000 ประเภทพิกัด
หมวด 1 สัตว์มีชีวิต ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (ตอนที่ 1 – 5)
หมวด 2 ผลิตภัณฑ์จากพืช (ตอนที่ 6 -14)
หมวด 3 ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช และผลิตภัณฑ์ที่แยกได้จากไขมันและน้ำมันดังกล่าวฯ (ตอนที่ 15)
หมวด 4 อาหารปรุงแต่ง เครื่องดื่ม สุรา และน้ำส้มสายชู ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนยาสูบฯ (ตอนที่ 16 – 24)
หมวด 5 ผลิตภัณฑ์แร่ (ตอนที่ 25 – 27)
หมวด 6 ผลิตภัณฑ์ทางเคมี (ตอนที่ 28 – 38)
หมวด 7 ผลิตภัณฑ์ของพลาสติกและยาง (ตอนที่ 39 – 40)
หมวด 8 ผลิตภัณฑ์จากหนังและหนังเฟอร์ (ตอนที่ 41 – 43)
หมวด 9 ไม้และของทำด้วยไม้ (ตอนที่ 44 – 46)
หมวด 10 เหยื่อไม้และกระดาษ (ตอนที่ 47 – 49)
หมวด 11 สิ่งทอและของทำด้วยสิ่งทอ (ตอนที่ 50 – 63)
หมวด 12 ของสำเร็จรูป (ตอนที่ 64 – 67)
หมวด 13 หิน ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องแก้ว (ตอนที่ 68 – 70)
หมวด 14 ไข่มุก รัตนชาติ (ตอนที่ 71)
หมวด 15 โลหะสามัญและของทำด้วยโลหะสามัญ (ตอนที่ 72 – 83)
หมวด 16 เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรรณ์ไฟฟ้า (ตอนที่ 84 – 85)
หมวด 17 ยานบก ยานน้ำ อากาศยาน (ตอนที่ 86 – 89)
หมวด 18 อุปกรรณ์ทางทัศนศาสตร์ การแพทย์ เครื่องดนตรี นาฬิกา (ตอนที่ 90 – 92)
หมวด 19 อาวุธและกระสุน (ตอนที่ 93)
หมวด 20 ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (ตอนที่ 94 – 96)
หมวด 21 ศิลปกรรม โบราณวัตถุ (ตอนที่ 97)
สามารถ download พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ( ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2559 ( พิกัดฉบับภาษาไทย )
HS Code ใช้เมื่อไหร่
- ใช้ในการกำหนดอัตราภาษีทั้งขาเข้า และขาออก ประเทศไทยส่วนใหญ่ขาออกไม่เสียภาษี จะเสียภาษีขาเข้ามากกว่า
- HS Code มีผลต่อสิทธิประโชยน์ทางภาษีอากร หรือการใช้ฟอร์มลดหย่อนภาษี FTA
- อัตราภาษีอากรที่ชัดเจน สามารถนำมาคำนวณต้นทุนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
สามารถค้นหาพิกัด HS Code ได้จากแหล่งข้อมูลใด
- website กรมศุลกากร ค้นหาพิกัดอัตราศุลกากร หรือที่ Tariff e-service
- HS Check Application กรมศุลกากร ผ่านทาง Mobile Application
- ให้ตัวแทนเคลียร์สินค้าที่ชำนาญการ ระบุพิกัดสินค้า ตัวแทนออกของเหล่านี้จะมีประสบการณ์โดยตรง
ที่มา www.customs.go.th