ประเภท 1.1 |
วัตถุหรือสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการระเบิดอย่างรุนแรงฉับพลัน |
|
ประเภท 1.2 |
วัตถุหรือสิ่งของซึ่งอาจก่ออันตรายโดยการกระจายของสะเก็ดระเบิดแต่มิใช่โดยระเบิดอย่างรุนแรงฉับพลัน |
|
ประเภท 1.3 |
วัตถุหรือสิ่งของที่อาจก่ออันตรายโดยเปลวไฟพร้อมกับอันตรายจากการระเบิดบ้างเล็กน้อย แต่มิใช่จากการระเบิดอย่างรุนแรงฉับพลัน |
|
ประเภท 1.4 |
วัตถุหรือสิ่งของที่ไม่ก่ออันตรายมากนักอาจติดไฟได้หรือประทุได้ในระหว่างการขนส่ง |
|
ประเภท 1.5 |
วัตถุหรือสิ่งของที่ไม่ไวต่อการระเบิด จนโอกาสที่จะระเบิดนั้นมีน้อย หรือการเปลี่ยนขั้นจากการลุกไหม้เป็นการจุดระเบิดมีน้อยในขั้นการขนส่งปกติ แต่ถ้ามีการขนส่งเป็นจำนวนมากก็ทำให้การไหม้นั้น นำไปสู่การระเบิดได้ |
|
ประเภท 1.6 |
วัตถุซึ่งไม่ไวเป็นอย่างยิ่งต่อการเกิดอันตรายโดยการระเบิด โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือการกระจายของวัตถุมีน้อยมาก |
|
ประเภทที่ 2 |
ก๊าซ (Gases) |
|
ประเภท 2.1 |
ก๊าซไวไฟ (Flammable gases) เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อน หรือมีเปลวไฟ ก๊าซประเภทนี้ได้แก่ Acetylene, Bromotrifluoroethylene, Butadienes, Cychlobuthane |
|
ประเภท 2.2 |
ก๊าซไม่ติดไฟไม่เป็นพิษ ภายใต้ความดัน (Non-flammable, Non-toxic gases) เป็นก๊าซที่อาจเกิดการระเบิดได้หากถูกกระแทกอย่างแรง ตัวอย่าง เช่น อากาศภายใต้แรงดัน (Air compressed), Argon, Carbon dioxide |
|
ประเภท 2.3 |
ก๊าซพิษ (Toxic gases) เป็นก๊าซที่เมื่อสูดดม หรือหายใจเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ก๊าซพิษหลายชนิดมีคุณสมบัติที่เป็นอันตรายได้หลายอย่าง ดังนั้นหีบห่อหรือภาชนะบรรจุจะมีฉลากระบุเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมไว้ด้วย |
|
ประเภทที่ 3 |
ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) |
|
ประเภทที่ 3 |
เป็น ของเหลว หรือของเหลวผสมหรือของเหลวที่มีสารแขวนลอยผสมอยู่ เช่น สี แลคเกอร์ วานิช เป็นต้น ของเหลวเหล่านี้จะให้ไอระเหยที่ไวไฟสามารถติดไฟได้ที่อุณหภูมิ 61 องศาเซลเซียส (141° F ) |
|
ประเภทที่ 4 |
ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) |
|
ประเภท 4.1 |
ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids) ของแข็งประเภทนี้ติดไฟได้ง่าย เป็นอันตรายเมื่ออยู่ใกล้กับแหล่งที่ทำให้เกิดการติดไฟ ได้แก่ บริเวณที่มีประกายไฟและเปลวไฟทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ หากมีการเสียดสี ก็สามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้ |
|
ประเภท 4.2 |
วัตถุที่อาจจะลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion) เป็นของแข็งที่สามารถให้ความร้อนและลุกไหม้ได้เอง หรือให้ความร้อนสูงเมื่อสัมผัสกับอากาศทำให้เกิดการลุกไหม้ได้ |
|
ประเภท 4.3 |
วัตถุที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ (Substances whice in contact with water emit flammablegases) วัตถุนี้เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟในปริมาณที่เป็นอันตราย ในบางกรณีก๊าซนี้สามารถจุดติดไฟได้เอง |
|
ประเภทที่ 5 |
วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Oxidizing substances and Organic peroxides) |
|
ประเภท 5.1 |
วัตถุออกซิไดซ์ (Oxidizing substances) หมายถึงวัตถุที่สามารถให้ออกซิเจนออกมาโดยที่วัตถุนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดการ เผาไหม้หรือเป็นวัตถุที่ทำให้เกิดขบวนการ oxidationในลักษณะที่คล้ายกันทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ต่อวัตถุ อื่นที่วางไว้ใกล้เคียง |
|
ประเภท 5.2 |
วัตถุอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides) เป็นวัตถุอินทรีย์ที่มีโครงสร้างออกซิเจน 2 ตัว และอาจถือได้ว่าเป็นอนุพันธ์ของ Hydrogen peroxide ซึ่งอะตอมของ Hydrogen 1 หรือทั้ง 2 อะตอม ถูกแทนที่ด้วย อนุมูลของสารอินทรีย์ วัตถุนี้ไม่เสถียรสามารถสลายตัวให้ความร้อนรวดเร็วได้ด้วย |
|
ประเภทที่ 6 |
วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ (Toxic and Infectious Substances) |
|
ประเภท 6.1 |
วัตถุมีพิษ (Toxic Sustances) วัตถุเหล่านี้อาจทำให้เสียชีวิตหรือทำให้เกิดการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงเมื่อ เข้าสู่ร่างกายโดยสัมผัสกับผิวหนัง หรือหายใจ หรือกลืนกินเข้าไป วัตถุมีพิษเกือบทุกชนิดจะให้ก๊าซพิษ เมื่อถูกเผาไหม้หรือได้รับความร้อนก็เกิดการสลายตัวและบางชนิดนั้นนอกจากจะ มีพิษแล้ว ยังมีคุณสมบัติ ที่เป็นอันตรายอื่นๆอีกด้วย |
|
ประเภท 6.2 |
วัตถุติดเชื้อ (Infectious Substances ) เป็นวัตถุที่มีเชื้อจุลินทรีย์ (Micro organism) อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์และสัตว์ |
|
ประเภทที่ 7 |
วัตถุกัมมันตรังสี (Radioactive material) |
|
ประเภทที่ 7 |
วัตถุที่สลายตัวแล้วให้รังสีออกมามากกว่า 0.002 ไมโครคิวรีต่อ น้ำหนักของวัตถุนั้น 1 กรัม หรือ 70 k Bq/kg. รังสีนี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเราสามารถรับรังสีได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย |
|
ประเภทที่ 8 |
วัตถุกัดกร่อน (Corrosives Substances) |
|
ประเภทที่ 8 |
วัตถุกัดกร่อน (Corrosive Substances) หมายถึง ของแข็ง หรือของเหลวซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง หรือทำลายสินค้า ยานพาหนะที่ทำการขนส่งเมื่อเกิดการรั่วไหลของสาร |
|
ประเภทที่ 9 |
วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) |
|
ประเภทที่ 9 |
วัตถุหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 8 ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต |
|