บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางโลจิสติกส์
กว่าที่สินค้าจะเดินทางจากต้นทางไปสู่ปลายทางต้องผ่านกระบวนการมากมาย เช่น การสั่งซื้อ การจัดส่ง และการเก็บรักษาสินค้าในคลังเป็นต้น ซึ่งผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์มีหน้าที่ดำเนินการในกระบวนการเหล่านั้นเพื่อให้สินค้าไปถึงยังจุดหมายอย่างสมบูรณ์ซึ่งบทบาทของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้
First-party Logistics Service Provider: 1PL หมายถึง องค์กรหรือธุรกิจเป็นผู้ทำกิจกรรมทางโลจิสติกส์ด้วยตนเอง เช่น ผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้าเป็นผู้ขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าด้วยตนเอง
Second-party Logistics Service Provider: 2PL หมายถึง ผู้ให้บริการขนส่งเพียงอย่างเดียวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการขนส่งสินค้าจากจุดต้นทางไปยังปลายทางหรือจุดกระจายสินค้า เช่น บริการรถบรรทุกหรือรถไฟสำหรับการขนส่งทางบก, เรือบรรทุกสินค้าสำหรับการขนส่งทางน้ำ หรือเครื่องบินสำหรับการขนส่งทางอากาศ
Third Party Logistics Service Provider: 3PL หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ สามารถทำกิจกรรมทั้งบางส่วนและทั้งหมดของกิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น บริการด้านการขนส่ง, ด้านคลังสินค้า, การกระจายสินค้า, บริการด้านการเงิน ซึ่งต้องมีการเชื่อมโยงและรับช่วงต่อการขนส่งในแต่ละโหมดของการขนส่งสินค้าจากต้นทางจนถึงจุดหมายปลายทาง
Fourth Party Logistics Service Provider: 4PL หมายถึง ผู้ให้บริการที่มีการพัฒนารูปแบบจาก 3PL โดยมีการเพิ่มการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์หรือประสานแนวทางการใช้โลจิสติกส์ให้แก่ลูกค้าในการเลือก 3PLและพัฒนาเครือข่ายการจัดการภายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
Fifth Party Logistics: 5PL หมายถึง ธุรกิจที่ถูกพัฒนาเพื่อการให้บริการ E-Business Market ทำหน้าที่เป็นผู้วางแผน ผู้รวบรวม จัดหา บริหารความมีส่วนร่วมในโซ่อุปทาน ผ่านระบบ E-Commerce โดยเป็นกุญแจเพื่อความสำเร็จในด้านระบบสารสนเทศ ในการออกแบบและการดำเนินสร้างสรรค์ความยืดหยุ่นและคุ้มค่าสูงโซ่อุปทานทั่วโลกจะมาถึงรูปแบบกลยุทธ์มากขึ้นในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
แหล่งที่มา
https://bit.ly/3P9SpMh
https://bit.ly/3PxPCgL