ระบบ Automation กับธุรกิจโลจิสติกส์
ระบบ Automation หรือ ระบบอัตโนมัติ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดแรงงานคนในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงคุณภาพและการควบคุมกระบวนการให้มีประสิทธิภาพและประหยัดเวลามากขึ้น การทำงานจะเป็นมาตรฐานและยกระดับการบริการให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับ ธุรกิจโลจิสติกส์ ระบบอัตโนมัติสามารถนำมาใช้ได้กับทุกกระบวนการตั้งแต่การควบคุมเครื่องจักร ระบบปฏิบัติการในคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า ยานพาหนะ การบริการลูกค้า กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับรวมถึงห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด
ข้อดีของระบบ Automation
- ด้านข้อมูล ด้วยการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์และการวิเคราะห์ข้อมูลในทุกขั้นตอนของกระบวนการ เราสามรถใช้ข้อมูลที่ได้มาช่วยในการติดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
- ด้านความรวดเร็ว การใช้ระบบปฏิบัติการหรือเทคโนโลยีการจัดการโลจิสติกส์ ทำให้เกิดความคล่องตัวในหลายๆกระบวกการเช่น คลังสินค้าหรือการจัดเก็บสินค้า การดำเนิดการท่าเรือ การเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์หรือการจัดสรรพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า
- ลดความผิดพลาด เช่นการป้อนข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความผิดพลาดจะส่งผลให้ธุรกิจสูญเสียเงิน แต่ระบบ Automation จะช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆลง
- ด้านการควบคุม สามารถควบคุมได้มากขึ้น ระบบอัตโนมัติอาจส่งผลให้ระบบมีความยืดหยุ่นสามารถปรับให้เข้ากับนโยบายทางธุรกิจของบริษัทช่วยให้พนักงานสามารถปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้เราสามารถมีมุมมองที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสินค้าคงเหลือของเรา เพื่อให้เราสามารถคาดการณ์สถานการณ์ได้
- ด้านการบริการลูกค้า ระบบอัตโนมัติช่วยลดความไม่แน่นอน ลดความล่าช้าในการตอบสนอง เราสามารถเฝ้าสังเกตุการณ์การขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าตั้งแต่ต้นทางไปยังปลายทาง
ข้อเสียที่เป็นไปได้ของระบบ Automation
- ความยืดหยุ่นน้อยลงสำหรับการกำหนดมาตรฐานกระบวนการทั้งหมด อาจไม่สามารถทำให้กระบวนการบางอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องพิจารณาผู้มีบทบาททั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ลูกค้า ผู้จัดจำหน่าย และอื่นๆ) ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายง่ายเพราะแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง และบางคนอาจไม่เต็มใจที่จะยอมรับการใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่เราได้เลือกไว้
- บางครั้ง ระบบอัตโนมัติอาจใช้เวลาค่อนข้างนานในการดำเนินการและใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ผลตอบแทนการลงทุนต่ำหรือช้า
ซอฟต์แวร์การจัดการเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีขั้นสูงสำหรับระบบอัตโนมัติด้านโลจิสติกส์ รองลงมาคือหุ่นยนต์ เมื่อรวมองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เกิดเทรนด์อย่าง Smart warehouse หรือคลังสินค้าอัจฉริยะเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ระบบอัตโนมัติยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาอยู่อีกมากเพื่อให้เกิดความเสถียรและสามารถประยุกต์เข้าใช้ได้กับทุกกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การลงทุนในระบบอัตโนมัติและการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ให้ทันสมัยยังมีความจำเป็นเพื่อที่ธุรกิจของเราจะสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้
ที่มา :https://bit.ly/33VDh31