การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้า
เรือสินค้าที่เดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางนั้น มีระยะเวลาและเส้นทางที่แตกต่างกัน ทำให้เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตอนไหนหรือความเสียหายที่ได้รับร้ายแรงขนาดไหน อย่างสถานะการเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเรือของเอเวอร์กรีนขวางคลองสุเอซ ทำให้เรือหลายๆลำไม่สามารถเดินทางผ่านคลองสุเอซได้ ส่งผลทำให้เรือแต่ละลำเกิดความล่าช้าขึ้น หรืออย่างล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2564 เกิดเหตุเรือบรรทุกสินค้า "เอ็มวี เอ็กซ์ เพรส เพิร์ล" ของสิงคโปร์ มีไฟลุกไหม้ท่วมทั้งลำ เปลวไฟและเขม่าควันสีดำลอยไปทั่วบริเวณ หลังจากที่เกิดการระเบิดรุนแรงจากตู้สินค้าบนเรือลำนี้ที่กำลังแล่นอยู่นอกชายฝั่งศรีลังกา และเตรียมเข้าทอดสมอจอดพักที่ท่าเรือกรุงโคลัมโบ ของศรีลังกา
การบริหารความเสี่ยงในการนำเข้าส่งออกสินค้าเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก ทำให้ผู้นำเข้าส่งออกต้องบริหารความเสี่ยงไม่ว่าจะเสียหายหนักแค่ไหน เสียหายทั้งหมดเลยหรือแค่บางส่วนก็ตามล้วนแต่เป็นความเสี่ยงที่เราสามารถคาดเดาและหาทางป้องกันไว้ก่อนได้ เราสามารถบรรเทาอย่างน้อย ๆ ก็ต้องทำให้สามารถอุ่นใจได้ว่างานของเราจะไม่ขาดทุนหรือส่งผลเสียต่อลูกค้า
การทำประกันภัย
การทำประกันภัยขนส่งสินค้าเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง แต่ถ้าผู้นำเข้าส่งออกเป็นมือใหม่อาจจะไม่รู้ว่าต้องทำที่ไหน แต่เดี๋ยวนี้แค่เปิด Google ก็มีขึ้นมาแล้วหรือสามารถสอบถามจากผู้ให้บริการ Freight ของผู้นำเข้าส่งออกก็สามารถทำให้ได้
ซึ่งการทำประกันภัยควรทำ Clause A เสมอ แม้ราคาเบี้ยประกันที่สูงกว่า CLAUSE C อยู่พอควร แต่เมื่อเทียบกับความคุ้มครอง ทั้ง ตู้ตกเรือ ไฟไหม้ โจรสลัดปล้น รับรองว่าถ้าได้ใช้จะช่วยให้ความเสียหายที่ได้เบาลงไปมาก
Freight Forwarder
ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นมาจริง ๆ ควรปรึกษา Freight Forwarder เพื่อที่จะได้จัดการวางแผนและแก้ไขปัญหาได้ทันทีครับ เช่น การสั่งของใหม่ให้มาทางเครื่องบินแทนเรือ หรือสินค้าหาย ตกหล่นจ้องแก้ปัญหาอย่างไร เป็นต้น
การเผื่อเวลาส่งสินค้าให้ลูกค้า
การเผื่อวันส่งสินค้าให้เป็นหลังวันที่เรือเข้าไปแล้วสัก 10 วัน ถือว่าเป็นการวางแผนที่ดี เรือสามารถดีเลย์ก็มักจะดีเลย์ 3-10 วันหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับสถานะการ ถ้าเราสามารถเผื่อเวลาได้แบบนี้ตลอด ทำให้ส่งของก่อนกำหนดเป็นประจำ ลูกค้าจะมั่นใจในการซื้อสินค้ากับเราขนาดไหน และ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจริง ๆ อย่างน้อยก็มีเวลาให้คิดว่าสามารถแก้ไขได้อย่างไร
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3wWa7K9