09 April 2021
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากรและภาษีอากรนำเข้า
การคำนวนราคาหาราคาศุลกากร(CIF)
1. “C” หมายถึง COST คือ ต้นทุนของราคาสินค้า
2. “I” หมายถึง INSURANCE คือ ค่าประกันภัย
**กรณีไม่มีค่าประกันภัย จะใช้อัตรา 1% ของราคาสินค้าเพื่อนำมาคำนวน**
3. “F” หมายถึง FREIGHT คือ ค่าขนส่ง
**กรณีค่าขนส่งไม่ได้ระบุมากับสินค้าจะมีอัตราจากทางกรมศุลกากรเพื่อนำมาคำนวน**
โดยวิธีการคิดคือการนำ ต้นทุนของราคาสินค้า + ค่าประกันภัย + ค่าขนส่ง จะได้ราคาของศุลกากร ถ้าหากคำนวนออกมาไม่เกิน 1,500 บาท แล้วเป็นไปตามข้อบังคับที่กรมศุลกากรกำหนดเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งมอบให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับต่อไป
กรณีคำนวณออกมาแล้วเกิน 1,500 บาท จะต้องมีการชำระค่าภาษีอากร สามารคคิดค่าภาษีเบื้องต้นได้ โดยนำอากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะทำให้ได้ภาษีอากรนำเข้า
1. การคิดอากรขาเข้า คือ (ต้นทุนของราคาสินค้า + ค่าประกันภัย + ค่าขนส่ง)*อัตราอากรขาเข้า(%)
2. การคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ (ต้นทุนของราคาสินค้า + ค่าประกันภัย + ค่าขนส่ง) + ผลลัพธ์จากข้อ 1 (อากรขาเข้า) *VAT 7%
3. ภาษีอากรนำเข้า คือ ผลลัพธ์จากข้อ 1 (อากรขาเข้า) + ผลลัพธ์จากข้อ 2 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
**อัตราอากรขาเข้าจะแตกต่างๆกันขึ้นอยู่กับของแต่ละชนิดที่นำเข้ามา สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของทางกรมศุลกากร https://bit.ly/3dKyeDs **