อยากนำเข้าหรือส่งออกต้องรู้อะไรบ้าง?
การนำเข้าและการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนมีการเติบโตมากขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าสามารถหาสินค้าที่มีเทคโนโลนีแบบใหม่, คุณภาพที่ดีกว่า หรือราคาที่ถูกกว่าในประเทศ และผู้ส่งออกยังสามารถขายสินค้าที่ตนเองผลิต ไปยังประเทศต่างๆ ได้อีกด้วย
การนำเข้าและการส่งออกสินค้า เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดและขั้นตอนที่เยอะมาก ผู้ประกอบการที่สนใจนำเข้าส่งออกสามารถเลือกบริการขนส่ง (Freight Forwerder) เพื่อตรวจสอบราคาค่าขนส่งและยืนยันการบริการการนำเข้าส่งออก หลายท่านอาจจะคิดว่าแค่นี้ก็สามารถนำเข้าส่งออกได้แล้ว แต่แท้ที่จริงแล้วยังมีขั้นตอนอีกหลายขั้นตอนในกระบวนการนำเข้าส่งออก ที่ทาง Freight Forwerder ต้องการข้อมูลจากผู้ประกอบการ เพื่อการนำเข้าส่งออกที่ราบรื่น, ปลอดภัย และควบคุมต้นทุนให้กับทางผุ้ประกอบการ
รายละเอียดที่ควรทราบก่อนเริ่มนำเข้าส่งออกระหว่างประเทศ
1. ชนิดของสินค้า
ผู้ประกอบการควรรู้จักสินค้าของตัวเองให้มาก สินค้าคืออะไร? ต้องบรรจุสินค้าแบบใด? ภาษีสินค้าเท่าใด? ใช้สิทธิพิเศษได้หรือไม่? มีเอกสารสำคัญของสินค้าแนบกับการขนส่งด้วยหรือไม่? ต้องขอใบอนุญาตกับหน่วยงานไหนหรือไม่? ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแค่เบื่องต้นเท่านั้น ที่ต้องรู้สิ่งเหล่านี้ก็เพราะว่า สินค้าบางชนิดที่คุณเห็นว่าเป็นแค่สินค้าธรรมดา ใช้กันทั่วไป บางสินค้าอาจมีข้อกำหนดหรือกฎต่างๆ ในการนำเข้าหรือส่งออกอยู่ด้วย เช่น การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ทำด้วยไม้จะต้องมี Phytosanitary มาจากต้นทางและต้องมีใบอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น
2. ขนาดและน้ำหนักของสินค้า
พาหนะขนส่งแต่ละชนิดมีข้อจำกัดเรื่องขนาดและการรับน้ำหนักที่แตกต่างกันไป ถ้าสินค้าใหญ่มากตู้คอนเทนเนอร์ธรรมดาก็ใส่ไม่ได้รวมถึงเครื่องบินก็เช่นกัน การบรรจุอาจจะต้องเป็น Flat Rack Container หรือถ้าสินค้าขนาดเล็ก แต่มีน้ำหนักที่สูงมากการบรรจุอาจจะเป็นพาหนะที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก ทั้งนี้ก่อนที่นำเข้าส่งออกสินค้าควรแจ้งขนาดและน้ำหนักของสินค้า เพื่อทางบริษัทขนส่งสามารถตรวจสอบและเลือกพาพนะที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสินค้านั้นได้
3. น้ำหนักของสินค้ารวมหีบห่อ
น้ำหนักรวมหรือ G.W., Gross weight คือปัจจัยหนึ่งที่บริษัทขนส่งจะนำมาใช้คำนวนค่าใช้จ่ายและน้ำหนักต่อชิ้นของตัวสินค้าจะมีผลต่อการเคลื่อนย้ายสินค้า ถ้าสินค้าใช้แรงงานคนยกไม่ได้อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับรถยกเพิ่มขึ้นมาด้วย
4. ประเทศต้นทาง – ประเทศปลายทาง
การขนส่งจะใช้ระยะเวลาและวิธีการในการขนส่งระหว่างประเทศต้นทางไปยังประเทศปลายทาง ทางผู้ประกอบการควรทราบเบื้องต้น ระยะเวลาของการขนส่งจากประเทศต้นทางไปยังประเทศปลายทางกี่วัน? ประเภทการขนส่งควรเป็นประเภทไหน? ทางเรือ, ทางเครื่องบินหรือบางประเทศก็ไม่มีพรมแดนติดทะเลถ้าจะทำการขนส่งชิปปิ้งก็ต้องทำเรื่องขอผ่านแดน เป็นต้น
ทั้งนี้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อผู้ประกอบการสามารถวางแผนในการนำเข้าส่งออกสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงต่อเวลาในการขนส่งสินค้า
5. กำหนดการส่งมอบสินค้า
การกำหนดการส่งมอบสินค้า เป็นเรื่องที่ต้องระวังอย่างมาก เพราะระยะทางยิ่งไกลก็ยิ่งต้องใช้เวลามากหรือในเส้นทางเดียวกันสายเรือบางสายอาจจะวิ่งได้เร็ว แต่บางสายก็ช้า ยิ่งถ้ากำหนดการส่งสินค้าใกล้เข้ามาแต่ของยังผลิตไม่เสร็จจนต้องไปใช้บริการขนส่งทางอากาศแทน จากกำไรอาจจะกลายเป็นขาดทุนได้ทันที
6. Incoterm
Incoterm คือเรื่องของการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง ในปัจจุบัน Incoterm ใช้ข้อบังคับ Incoterm2020 ตัวอย่างเช่น FOB กำหนดให้ผู้ขายเอาสินค้าไปส่งที่ท่าและทำพิธีการศุลกากรขาออก หากสินค้าเกิดความเสียหายในขั้นตอนเหล่านี้ผู้ขายก็ต้องรับผิดชอบค่าความเสียหายในส่วนนี้ไป ทางผู้ประกอบการควรรู้จัก Incoterm ที่ใช้ในการนำเข้าส่งออกเพื่อให้เข้าใจกระบวนการขนส่งและไม่ให้เสียผลประโยชน์
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3oraZlE, https://bit.ly/39RplI8