ทำไมช่วงนี้ตู้คอนเทนเนอร์ถึงขาดแคลน และราคาขนส่งทางทะเล สูงขึ้นเป็นหลายเท่าตัว?
ช่วงนี้เราคงได้ยินข่าวว่า ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน รวมไปถึงราคาขนส่งทางทะเล สูงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน สถานการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร? แล้วมันจะคงอยู่แบบนี้นานแค่ไหน? ในฐานะผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเข้าใจเพื่อวางแผนธุรกิจให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากเหตุการณ์นี้ วันนี้แอดมินรวบรวมสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญในวงการโลจิสติกส์ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น รวมไว้ในบทความนี้ครับ
1) สถานการณ์ปัจจุบัน คือ การนำเข้าของสหรัฐฯ เดือน ตุลาคมที่ ผ่านมา เพิ่มสูงถึง 20.6% ขณะที่ฝั่งยุโรปเริ่มกลับมาบวก โดยอาจมีสาเหตุ 4 ข้อด้วยกัน คือ
- นำเข้าเพื่อชดเชย สินค้าคงคลังที่เหลือน้อยลง เพราะว่ามีการชะลอการนำเข้า ช่วงปิดประเทศเนื่องจากโควิด19
- e-commerce ที่เติบโตมากขึ้นอย่างมาก และลูกค้าต่างคาดหวังที่จะได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ภายใน 1 วัน ซึ่งกลับทำให้ธุรกิจแต่ละธุรกิจ ต้องมีสต๊อกสินค้า มากขึ้น จึงเกิดการเร่งการนำเข้า เพื่อสร้างสต๊อกให้เพียงพอกับยอดขาย
- ผู้คนเริ่มกลับมามีงานทำ และเริ่มใช้จ่ายมากขึ้น
- มีการเปลี่ยนแปลง Peak Season ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจาก Promotion ต่างๆ ของแพลตฟอร์ม e-commerce
2) แน่นอนว่าจากสาเหตุในข้อ 1 ก็ทำให้ค่าขนส่งโดยเฉพาะทางทะเล จากเอเชีย ไปสหรัฐฯ แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และค่าขนส่งได้พุ่งทะลุ ตัวอย่างเช่น เซี่ยงไฮ้ ไปแถวบริเวณนิวยอร์ค จะประมาณ 4,000 เหรียญสหรัฐ ต่อตู้ยาว ไปช่วงเดือน กันยายน ที่ผ่านมา (ปกติอยู่ที่ 1,000 – 2,000 เหรียญสหรัฐฯ)
3) โดยปกติสหรัฐฯ ก็เน้นนำเข้าสินค้า ส่งออกน้อยอยู่แล้ว ยิ่งพอเจอสถานการณ์โควิดแบบนี้ ก็ยิ่งส่งออกน้อยเข้าไปใหญ่ ทำให้เกิดวิกฤตซ้อนเข้าไปจากวิกฤตราคาค่าขนส่งก็คือ “ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน” หรือตู้ช๊อต เพราะว่ามีแต่เรือขนตู้ไปที่สหรัฐฯ แต่ไม่ค่อยมีตู้ออกจากสหรัฐฯ ทำให้ช่วงเดือน ตุลาคมที่ผ่านมา หลายๆ ประเทศที่ส่งออกจะวุ่นวายกันมาก
4) เรือขนส่งที่วิ่งจากเอเชีย ไปสหรัฐอเมริกา ก็ไม่ได้วิ่งไปกลับทางเดิมแบบเครื่องบิน แต่ขากลับมีการแวะตามที่ต่างๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ เทียวเรือขากลับจากฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ มาฝั่งเอเชีย จะใช้เวลานานกว่าขาไปประมาณ 10-20 วัน เช่น จากจีนไปลอสแองเจลลิส ประมาณ 20 วัน แต่ขากลับอาจใช้เวลา 30-40 วัน
5) นอกจากที่สินค้าขาเข้าสหรัฐฯ มากกว่าสินค้าขาออกแล้ว ที่ผ่านมาช่วงสภานะการโควิด เนื่องจากความต้องการขนส่งลดลงกว่า ครึ่งหนึ่ง ก็ทำให้สายเรือ หลายๆสาย เอาเรือใหญ่ไปจอดทอดสมอไว้เฉยๆ เอาเรือเล็กวิ่งแทน พอสถานการณ์ดีขึ้น หลายๆ ประเทศกลับมาส่งออก สายเรือก็ยังใช้เรือเท่าเดิม จึงทำให้ราคาขนส่งขึ้นมาอีก
6) พอสายเรือพบว่าตู้คอนเทนเนอร์มีจำกัดมากๆ และส่งสินค้าไปสหรัฐฯ หรือแม้กระทั่งยุโรป ได้กำไรต่อตู้เยอะกว่ามาก ก็ยิ่งแบ่งตู้คอนเทนเนอร์ให้ไป โซนฝั่งสหรัฐฯ หรือกระทั่งยุโรปเยอะขึ้น ทำให้คนที่ค้าขายกันในเอเชียแทบไม่มีตู้คอนเทนเนอร์ใบการนำเข้าส่งออกไปด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ตู้ช๊อตไปตามๆ กัน
7) อีกประเทศที่ฮอตมากๆ รองจากสหรัฐฯ ก็คือ อินเดีย เป็นปิดประเทศไปยาวนานเหมือนกัน และเมื่อกลับมาเปิดประเทศใหม่ก็ทำให้สถานการณ์ขนส่งทางเอเชียแย่ลงไปอีก
8) ตอนนี้ผู้ ที่ทำนำเข้าส่งออก โดยเฉพาะขาออก จะประสบปัญหาค่าขนส่งทางทะเล ขึ้นเยอะมาก และหากใครส่งออกไปประเทศยอดนิยมก็จะต้องเผื่อเวลาล่าช้าเนื่องจากท่าเรือหนาแน่นด้วย โดยเฉพาะ สหรัฐฯ, จีน (หนิงโบ), และเกาหลีใต้ (ปูซาน)
ซึ่งปัญหาก็ลามไปทั่วทุกเส้นทางแล้ว ตัวอย่างเช่น ราคาขนส่งจากไทยไปเซี่ยงไฮ้ ก็มีให้เห็นหลัก 1,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้! (ขณะที่ช่วงปกติอยู่ที่ หลักร้อย หรือ บางทีฟรีค่าขนส่งทางทะเลอีกด้วย)
9) สถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป ต้นทุนขนส่งทางทะเลจะพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆ ถึงจุดไหน หรือจะลดลงเมื่อไหร่ จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญหลายท่านก็คิดว่าสถานการณ์น่าจะยังราคาสูงอยู่จนถึงช่วงตรุษจีน
10) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องอย่าลืมว่าสาเหตุส่วนหนึ่งของความวุ่นวายรอบนี้เกิดจาก Pent Up Demand หรือความต้องการของสินค้าและบริการหลายอย่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจาก “ความต้องการที่ถูกอั้นไว้” หลายๆ เหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ซึ่งก็จะคาดเดาได้ยาก ว่าจะจบอย่างไร
11) สถานการณ์ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่สหรัฐฯ สายเรือก็เริ่มมีการลดราคาค่าขนส่ง สำหรับตู้ที่ไม่ใช่ตู้ 40 ฟุต (ตู้ยาว) กันแล้ว เพื่อแก้ปัญหาตู้ช๊อต คือพยายามขนตู้กลับให้ได้
แหล่งที่มา : https://bit.ly/365usC2, https://bit.ly/33h0h9c